On the occasion of its 10th Anniversary, 2000-2009, the Southeast Asian Studies Program,Thammasat University
**หมายเหตุ วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน มีการเปลี่ยนแปลงการฉายภาพยนตร์เรื่อง The Journey From The Fall เป็นภาพยนตร์เรื่อง Buffalo Boy แทน
สกู๊ปพิเศษ : เทศกาลภาพยนตร์อุษาคเนย์ครั้งที่ 6 "My Dear ASEAN"
บันทึกเทปวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2552
. สัมภาษณ์ อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ : ออกอากาศวันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม 2552
. สัมภาษณ์ อ.ทรงยศ แววหงษ์ และ ผศ.ดวงใจ หล่อธนวณิชย์ : ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2552
วงเสวนาหลังชมภาพยนตร์ Burma VJ (จากซ้ายไปขวา) โดยวิทยากรคือสุภัตรา ภูมิประภาส,
ซอ อ่อง และสมฤทธิ์ ลือชัย เป็นผู้ดำเนินรายการ
Wed, 2009-11-04 00:57
ในปี 2552 นี้ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีวาระครบรอบ 10 ปี แห่งการสภาปนา ทางโครงการจึงเฉลิมฉลองด้วยการจัดเทศกาล “ภาพยนตร์อุษาคเนย์ : แด่ ASEAN ที่รัก” ขึ้น ณ ห้องเรวัติ พุทธินันท์ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โดยมีการจัดฉายภาพยนตร์ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. ไปจนถึง 4 ธ.ค. 2552 ในวันศุกร์และวันเสาร์ของทุกสัปดาห์ ซึ่งได้จัดฉายไปแล้วสองเรื่องคือเรื่อง Burma VJ ในวันที่ 30 ต.ค. ซึ่งเป็นภาพยนตร์สารคดีของพม่า ว่าด้วยการทำสื่อประชาชนท่ามกลางการปิดกั้นจากรัฐบาลเผด็จการทหาร ส่วนในวันที่ 31 ต.ค. เป็นภาพยนตร์เรื่อง Un Soir Apres La Guerre จากประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นภาพยนตร์เล่าถึงชีวิตผู้คนอันยากแค้นภายหลังสงครามกัมพูชา ผ่านความสัมพันธ์ของตัวละครชายที่เป็นทหารผ่านศึกสงครามกัมพูชา และ ตัวละครหญิงที่ถูกขายให้เป็นหญิงทำงานในบาร์เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจในครอบครัว
ทางประชาไท ได้พูดคุยกับ ชนม์ธิดา อุ้ยกูล และ รุจิเรข เจริญชัยไพบูลย์ ผู้ร่วมจัดงานซึ่งเป็นนักศึกษาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในรุ่นที่ 6 และรุ่นที่ 5 ตามลำดับ ทั้งคู่บอกว่างานภาพยนตร์ในครั้งนี้เป็นการจัดฉายภาพยนตร์ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านแถบอุษาคเนย์ โดยพยายามจะจัดฉายให้ครบทั้ง 11 ประเทศ แต่ไม่สามารถหาภาพยนตร์จากประเทศบรูไนมาได้ ขณะเดียวกันก็มีภาพยนตร์จากประเทศใหม่อย่างติมอร์ตะวันออก (Timor-Leste)
ผู้ร่วมจัดงานทั้งสองคน กล่าวถึงการคัดเลือกหนังมาฉายในครั้งนี้ว่า พวกเขาจะเลือกหนังที่สามารถบอกเล่าเรื่องเศรษฐกิจ ความเป็นมาของชาติ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ความขัดแย้ง ในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียอุษาคเนย์
“เป็นหนังที่ดูแล้วจะเข้าใจประเทศเหล่านี้มากยิ่งขึ้น” ทั้งคู่ตอบเป็นเสียงเดียวกัน
“ส่วนใหญ่มันจะสะท้อนปัญหาความขัดแย้งภายในของแต่ละประเทศ” ชนม์ธิดาพูดถึงธีมหลัก ๆ ของภาพยนตร์ที่นำมาฉาย โดยกล่าวอีกว่าเนื้อหาของภาพยนตร์ส่วนใหญ่มันจะเกิดหลังยุคสงคราม เช่นสงครามเวียดนาม หรือหลังยุคอาณานิคม ที่มีภาพสะท้อนผลของการตกเป็นอาณานิคม
รุจิเรข ยกตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง My Magic ภาพยนตร์ของสิงคโปร์ซึ่งจะฉายในวันที่ 6 พ.ย. รุจิเรขเล่าคร่าว ๆ ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้พูดถึงความเป็นชนกลุ่มน้อยของชาวอินเดียในสิงคโปร์ ชนม์ธิดา เสริมว่าคนอินเดียที่อยู่ในสิงคโปร์เป็นผลพวงมาจากยุคอาณานิคมของอังกฤษ ที่อังกฤษเอาคนจีนและคนอินเดียเข้ามาในสิงคโปร์ โดยการนำคนอินเดียเข้ามาควบคุมคนพื้นเมืองมลายู ทำงานรับใช้ราชการของจักรวรรดินิยมอังกฤษ
“เราจะเห็นเรื่องชนชั้น ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจของคนกลุ่มใหญ่และคนกลุ่มน้อย เพราะเวลาเรามองภาพสิงคโปร์ เราจะเห็นแต่คนจีนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้คนในพื้นที่ อย่างคนอินเดียถูกกดทับ” รุจิเรขพูดถึงเรื่องบริบททางสังคมที่สะท้อนจากภาพยนตร์ My Magic โดยบอกอีกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์ของคนอินเดียในสิงคโปร์เป็นอย่างไร
ผู้ร่วมจัดงานทั้งสองคนยังได้กล่าวถึงประเด็นของภาพยนตร์ที่นำเสนอเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยยกตัวอย่างเรื่อง Laskar Pelangi ซึ่งเป็นภาพยนตร์จากอินโดนีเซีย ที่แสดงให้เห็นถึงความฝันของเด็ก ๆ ที่เติบโตท่ามกลางความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ทำให้เด็ก ๆ ในเรื่อง ขาดโอกาสทางการศึกษา ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร
โดยทั้งคู่ยังได้กล่าวถึงภาพยนตร์อินโดนีเซียอีกเรื่องคือ Long Road to Heaven ที่พูดถึงเหตุระเบิดในเกาะบาหลี เมื่อปี 2545 ว่ามีประเด็นเรื่องการก่อการร้ายที่สามารถโยงได้กับทั่วโลก
นอกจากการจัดฉายภาพยนตร์แล้ว งานนี้ยังมีการเสวนาหลังการฉายภาพยนตร์โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชา เช่นในการฉายเมื่อวันที่ 30-31 ต.ค. ที่ผ่านมามี ซอว์ อ่อง (Soe Aung) คณะกรรมการด้านการต่างประเทศ จาก สมัชชาเพื่อประชาธิปไตยในพม่า (Forum for Democracy in Burma) มาเป็นวิทยากรพูดเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่อง Burma VJ และมี อ.ทรงยศ แววหงษ์ อาจารย์จาก ม.ศิลปากร ผู้เป็นวิทยากรประจำรายการฉายหนัง "คุยกับหนัง" ที่ ม.ธรรมศาสตร์ มาร่วมแลกเปลี่ยนกับผู้ชมหลังฉายภาพยนตร์กัมพูชาเรื่อง Un Soir Apres La Guerre
“ถ้าดูแต่หนังอย่างเดียวคนดูอาจจะหลุดประเด็นบางประเด็น จึงมีการเสวนาเพื่อและเปลี่ยนประเด็นที่แต่ละคนจับได้” ชนม์ธิดา กล่าวถึงการเสวนา “หนังเรื่องหนึ่ง คนที่ตีความอาจจะตีความไม่เหมือนกันซึ่งการได้แลกเปลี่ยนจะทำให้การดูหนังสนุกยิ่งขึ้น”
เมื่อพูดถึงภาพยนตร์แล้วคนในบ้านเรามักจะคุ้นเคยกับภาพยนตร์ของฮอลลิวูด หรือภาพยนตร์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก อย่างญี่ปุ่น, จีน หรือเกาหลี มากกว่าภาพยนตร์ของประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“เราขาดการส่งเสริมหนังประเทศเพื่อนบ้าน” รุจิเรขกล่าว
ขณะที่ชนม์ธิดา บอกว่าการขาดการสนับสนุนนั้นมาจากปัจจัยเรื่องการแทรกแซงของรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ ด้วย ภาพยนตร์ที่เอามาฉายในงานจึงมักเป็นภาพยนตร์ที่ร่วมทุนกับชาติตะวันตก หรือไม่ก็เป็นผลงานของผู้กำกับที่ได้รับการศึกษาจากตะวันตก
“ในประเทศบางประเทศรัฐบาลก็ไม่สนับสนุนภาพยนตร์ในประเทศตัวเอง บางเรื่องก็ถูกแบนด้วยอำนาจรัฐ เพราะมีการตอบโต้รัฐบาล” ชนม์ธิดากล่าว
ผู้ร่วมจัดงานบอกว่าการชมภาพยนตร์เหล่านี้อาจต้องอาศัยความเข้าใจของประเทศเพื่อนบ้านอยู่ระดับหนึ่ง แต่ว่าการที่นำภาพยนตร์เหล่านี้มาฉากสู่สาธารณชน จะทำให้เกิดความเข้าใจเพื่อนบ้านในหลายมุมมองมากขึ้นได้ มองเห็นภาพของประเทศนั้น ๆ กว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งปกติแล้วเรามักจะได้เห็นภาพผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านจากภาพข่าวและภาพการท่องเที่ยวที่ดูสวยงามมากกว่า
“ทำให้เห็นวัฒนธรรมของผู้คนเห็นตัวคนจริง ๆ ว่าเขาน่าจะเป็นอย่างไร ได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความคับแค้น ได้เห็นปัญหา” ชนม์ธิดากล่าว
งานเทศกาลภาพยนตร์ในครั้งนี้ แม้จะขาดหนึ่งประเทศของภูมิภาคอาเซียนอย่างบรูไนไป แต่ก็มีภาพยนตร์จากประเทศใหม่ที่แยกตัวออกจากอินโดนีเซียมาไม่นานอย่างติมอร์ตะวันออก (Timor Leste)
โดย รุจิเรข ได้พูดถึงภาพยนตร์จากติมอร์ตะวันออกเรื่อง A Hero Journey ว่าไม่มีใครเคยเห็นภาพประเทศติมอร์ตะวันออกมาก่อน เพราะเป็นประเทศที่เพิ่งเกิด พึ่งแยกออกมาอิสระ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวถึงการสร้างชาติของ ซานาน่า กุสเมา หลังจากติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราช
“ทำให้เห็นผู้คนซึ่งโดนกดขี่ โดนทำร้าย มีความทรงจำที่ไม่ดีกับสงคราม กับอินโดนิเซีย กับเพื่อนบ้าน ว่าเขาจะรวมชาติ จะแก้ปัญหาตรงนั้นได้อย่างไร” รุจิเรขกล่าว “แล้วจะเห็นภาพภูเขาภาพทะเล ของติมอร์ซึ่งคนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เห็น”
ขณะที่ภาครัฐมีการกล่าวถึงการส่งเสริมความเป็นประชาคมอาเซียน ที่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาติสมาชิก แต่ในระดับประชาชน ผู้จัดงานเห็นว่าการเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านในด้านสังคมและวัฒนธรรมยังมีไม่มาก เทศกาลภาพยนตร์ในปีนี้จงมีชื่อว่า “แด่อาเซียนที่รัก”
“ในเมื่อระดับรัฐบาล เขามีการพูดเยอะมากเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ในระดับประชาชนมีน้อยคนมากจะเข้าใจ น้อยคนมากที่จะรู้ว่าตอนนี้เรามีเพลงชาติอาเซียน” รุจิเรขกล่าว ส่วนชนม์ธิดาบอกว่าน้อยคนมากจะมีความรู้สึกร่วมถึงความเป็นอาเซียน
“แม้แต่คนไทยเอง คนเหนือก็บอกว่าตัวเองเป็นคนเหนือ คนใต้ก็บอกว่าตัวเองเป็นคนใต้”
“มันไม่มีเซนส์ของความเป็นสิ่งเดียวกัน” ชนม์ธิดากล่าว
รุจิเรข กล่าวขยายความต่อว่า การที่ภาพยนตร์ฉายให้เห็นภาพแต่ประเทศที่มีแตกต่าง จะทำให้ได้เรียนรู้เรื่องความแตกต่างของกันและกัน และเกิดการยอมรับความต่าง ไม่ว่าจะในเรื่องศาสนาหรือเรื่องอื่น ๆ เพราะสิ่งที่พวกเรามีร่วมกันคือคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ผู้ร่วมจัดงานทั้งสองคนเชิญยังได้ชวนให้ผู้ที่สนใจเข้าชมภาพยนตร์ โดยรุจิเรข บอกว่าให้ไม่อยากให้มองภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ฉายในงานว่าเป็นหนังศิลปะเข้าใจยาก แต่ให้คิดว่ามาดูภาพยนตร์เพื่อทำความเข้าใจกับประเทศเพื่อนบ้าน
ส่วนชนม์ธิดาบอกว่า “เราได้มองเห็นประเทศเพื่อนบ้าน ในทางกลับกันเราได้ย้อนกลับมามองเหตุการณ์ในประเทศตัวเอง”
“อย่างเช่นสิงคโปร์ที่คนมองว่าเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่ประสบความสำเร็จ มีความทันสมัย แต่เราไม่เคยเห็นปัญหาของคนสิงคโปร์เลย” รุจิเรขยกตัวอย่าง ทางด้านชนม์ธิดาเสริมเรื่องสิงคโปร์อีกว่า ปัญหาที่เกิดนั้นมีทั้งกับคนที่เป็นที่เป็นคนกลุ่มใหญ่อยากชาวจีน หรือคนที่เป็นคนกลุ่มเล็กอยางชาวมลายู ชาวอินเดีย ชาวอาหรับ ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเปิดมุมมอง เห็นภาพของผู้คนที่นอกเหนือไปจากการท่องเที่ยวหรือจากการโฆษณา
“มันเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ชมภาพยนตร์จากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งปกติหาดูได้ยากด้วย” ชนม์ธิดาฝากทิ้งท้าย
กำหนดการ : เทศกาลภาพยนตร์อุษาคเนย์ ครั้งที่ 6: ตอน “แด่ ASEAN ที่รัก”
ตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค. ถึง 4 ธ.ค.
---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 30 ตุลาคม/30 October
Burma VJ: Reporting From a Closed Country
Burma VJ
2008/ 84 min / Denmark/Sweden/Burma
Director: Anders Østergaard
Commentator: Soe Aung
A Burmese young man Joshua becomes tactical leader of a group of reporters during Buddhist monks-led the September 2007 uprising in Burma. Under the heavily controlled media environment that foreign reporters are banned from the country, he and his colleagues keep the spirit of democracy and freedom from fear alive with cameras.
“As gripping as any Hollywood thriller - and as heartbreaking as any weepie.”
The Daily Mirror
“Crucial testament to the will of a suffering people to ensure the world does not forget them.”
The Daily Telegraph
“A guerrilla portrait of a country in crisis and a testament to the power of citizen journalism.”
The Times
---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 31 ตุลาคม/31 October
Un Soir Après La Guerre
( One Evening After The War )
Director: Rithy Pahn
Commentator: Songyote
Waehongsa/อ. ทรงยศ แววหงษ์
Living in the war is hard but surviving after the war is harder, the film reflects life of Savannah a man who lost most of his family to the horrors of the Khmer Rouge regime is a former solider in the Cambodian Civil War but has to struggle in returning to normal life. He falls in love with a 19-year-old bar girl, Srey Poeuv who is humiliated by her debts to the bar's owner, and is forced to keep working. Savannah wants to help Srey clear her debt, so he teams up with an ex-soldier and plans a crime that could net him some money.
อีกหนึ่งภาพยนตร์เรื่องเยี่ยมจากผู้กำกับ Rithy Pahn ผู้ซึ่งมีชีวิตช่วงหนึ่งร่วมในเหตุการณ์ทุ่งสังหารกลางทศวรรษที่ 70 ของกัมพูชา เรื่องราวของ Savannah ชายหนุ่มผู้สูญเสียสมาชิกส่วนใหญ่ในครอบครัวไปในช่วงเขมรแดงครองเมือง ชายหนุ่มผู้ซึ่งคุ้นเคยกับการการรบจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ในชีวิต คือการกลับมาใช้ชีวิตในสังคมทีไร้สงครามแห่งการฆ่าฟันแต่เต็มไปด้วยสงครามแห่งการต่อสู้เพื่อหลุดพ้นจากความข้นแค้นทางเศรษฐกิจ เมื่อความรักและความเสียสละต้องแลกมาด้วยวิธีการนอกกฏหมายและความรุนแรง การหลุดพ้นจากสงครามในใจจึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน/6 November
My Magic
My Magic
The film tells a story of Francis, an Indian alcoholic father who decides to change his lifestyle for the sake of his 10-year-old adolescent son. The son is a stoic old soul who has learned to bury his affection for his old man and to cope with his chaotic life. A broken spirit and a single parent, Francis hopes to win his son love and respect. An unexpected incident one night sets father and son on the road. In a dilapidated building, these two wounded souls come to terms with their love - a love which is as deep and acute as their grief.
Francis Bosco อดีตนักมายากลและพ่อหม้ายของลูกชาย Jathishweran ใช้ชีวิตปัจจุบันเป็นคนทำความสะอาดไนท์คลับ ทั้งยังมักปลอบใจตัวเองด้วยการดื่มเหล้าและมีชีวิตที่วุ่นวายทำให้เขากลายเป็นพ่อที่ไม่ได้รับความประสบความสำเร็จ ทั้งยังทำให้ลูกชายวัย 10 ปีรู้สึกขาดความรักและมีแต่ความเจ็บปวด Francis เองยังมีความหวังที่จะทำตัวใหม่และเอาชนะความรักและความเคารพของลูกชายอีกครั้ง เขาจึงสร้างมนต์ที่อันแสนแปลกประหลาดขึ้นมา เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในคืนหนึ่งได้ทำให้จิตวิญญาณที่มีบาดแผลของพวกเขาทั้งสองกลับมารวมความรักอย่างลึกซึ้ง
“Well conceived, executed and moving. My Magic is terrific.”
Oliver Stone
“My Magic may be grim and gritty but with unconditional love as it’s main theme, it will warm your heart.”
Channel News Asia
“Intensely emotional and unforgettable.”
Business Times
---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน/6 November
Bagong Buwan
Bagong Buwan
2001/110 min/Philippines
Director: Marilou Diaz-Abaya
Commentator: Sirote Klampaiboon/ อ. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
In 2000, President Joseph Estrada declared an all-out-war against the Mindanao's secessionist group Moro Islamic Liberation Front (MILF) with an aim at finishing the war in few weeks but it was unfinished. Its effects indiscriminately harm several innocent lives in the area either Muslims or Christians. The film makes audience realize about the meaning of living in the difference and tolerance.
ภาพยนตร์สัญชาติฟิลิปปินส์ที่มีชื่อแปลเป็นไทยว่า "จันทร์ดวงใหม่" ตัวละครเอกเป็นแพทย์มุสลิมที่มีอาชีพการงานดีในมะนิลาและมีพี่ชายเป็นสมาชิกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน Moro Islamic Liberation Front (MILF) จำต้องเดินทางกลับมาบ้าน เพราะลูกชายของเขาถูกกะสุนปืนของกลุ่มทหารบ้านปลิดชีพ ความขัดแย้งภายในของตัวละครเอกหลังจากที่เขากลับมาและต้องร่วมเผชิญชะตากรรมกับผู้ลี้ภัยสงครามที่สังกัดศาสนาเดียวกัน ทำให้คำถามเรื่องความเป็นตัวตนของตัวเองนั้นกลายเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจของเขาตลอดเวลา
“It will help Christians to get a better understanding of Muslims and the Mindanao problem.”
Armand N. Nocum, Philippine Daily Inquirer
“It was a delight and a pleasure to watch Bagong Buwan.''
Manila Bulletin
“Never before has a movie of this genre gone to such length to depict a more authentic and fair rendition of the conflict in Mindanao.”
Maulana R. M. Alonto, Morostudies
---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน/13 November
Nerakhoon (Betrayal)
Nerakhoon (Betrayal)
2008/87min/United States/Laos
Director: Ellen Kuras/Thavisouk Phrasavath
Commentator: Dr. Charnvit Kasetsiri/อ.ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
It took 23 years for the film to be done. This documentary film tells story of a Laotian family caught in the tides of war. They struggle to overcome the hardships of political refugee life, not only to adapt with new circumstance but also to deal with unforgettable past and forgiveness.
ภาพยนตร์แนวสารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของชาวลาวครอบครัวหนึ่งที่ต้องอพยพลี้ภัยเมื่อครั้งยุคสงครามเย็น เนื้อเรื่องกล่าวถึง ทวีสุข ที่มีพ่อเป็นทหารผู้ซึ่งร่วมกับฝ่ายต่อต้านพรรคคอมิวนิสต์ลาว หลังสงคราม พ่อของทวีสุขกลายเป็นศัตรูของรัฐและถูกจับเข้าไปอยู่ใน Re-educational camp ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ยึดประเทศลาวได้อย่างเบ็ดเสร็จ แม้ว่า ทวีสุขและสมาชิกที่เหลือในครอบครัวจะรอดชีวีตจากสงครามและได้ไปเริ่มต้นชีวิตในสหรัฐอเมริกา แต่ผลพวงของสงครามก็ทำให้การมีชีวิตอยู่ในสังคมใหม่และการต่อสู้กับความเจ็บปวดในใจนั้น เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
“Thavi's story is about love, family, culture, betrayal, struggle, and, ultimately, survival and triumph, making Nerakhoon (The Betrayal) a powerful tale with a heart and soul you won't soon forget.”
Kim Vonyar, Cinematical
“The Betrayal" is a potent mix of archival footage, talking heads and visually arresting montages.”
V. A. Musetto, New York Post
---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน / 14 November
Wonderful Town
Wonderful Town
2007/92min/Thailand
Director: Aditya Assarat
Commentator: Prof. Benedict Anderson
“The film barely goes beyond his, and reveals no deeper expression in these people or their town.”
Daniel Kasman, D-kaz
---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน/20 November
Laskar Pelangi
Laskar Pelangi (Rainbow Warriors)
2008/125min/Indonesia
Director: Riri Riza
Commentator: Onanong Thippimol /อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล
“One of the most affecting and poignant endings ever committed to Indonesian celluloid... makes audiences' hearts soar on their way out of the theater.”
The Jakarta Post
“Its infectious charm is a treat for young and old at international kid feasts and festival family sidebars”
Maggie Lee, Hollywoodreporter.com
---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน/21 November
*** ระงับการฉาย ภาพยนตร์เรื่อง Journey From The Fall โดยเปลี่ยนเป็น เรื่อง Gardien de Buffles (Buffalo Boy)
---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน / 27 November
The Last Communist
Lelaki Komunis Terakhir 2006/90 min/ Malaysia Director: Amir Muhammad Commentator: Supalak Ganjanakhundee / คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
The movie is inspired by the leader of the disbanded Malayan Communist Party, Chin Peng and the Malayan Emergency (1948-1960) during which more than 10,000 Malayan and British troops and civilians lost their lives. The movie has been shown in several film festivals around the world but it becomes controversial in its home country.
ภาพยนตร์แนวสารคดีที่สะท้อนถึงชีวิตและบทบาททางประวัติศาสตร์ของ “Chin Peng” อดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เรื่องราวของ “Chin Peng” ถูกใช้เป็นตัวเชื่อมโยงบริบทที่แตกต่างกันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ผ่านความทรงจำของผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เขาเคยเดินทางไปพักอาศัยและต่อสู้ทางการเมือง ตลอดจนการเลือนหายอย่างไร้ตัวตนของพรรคคอมมิวนิสต์ดังกล่าวที่ถูกบอกเล่าผ่านเรื่องราวชีวิตประจำวันของผู้คนอีกจำนวนหนึ่งในปัจจุบันที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์หรือ “Chin Peng” เลย แม้สถานที่ที่พวกเขาอยู่อาศัยจะมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตในอดีตของ “Chin Peng” เช่นกันก็ตาม
“The Last Communist is not a film about communism nor is it a celebration of the life of Chin Peng.”
Benjamin McKay, Criticine
“I think this is the first time a film has been banned for not being violent enough.”
Amir Muhammad
“ภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้สร้างกำลังเขียนบอกเล่าประวัติศาสตร์ฉบับประชาชน ซึ่งต่างจากประวัติศาสตร์ที่รัฐเขียนขึ้นมาตลอด”
หนังสือพิมพ์ มติชน
---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน/ 28 November
Long Road to Heaven
Long Road to Heaven
2007/120 min/Indonesia
Director: Enison Sinaro
Commentator: Chayanit Poonyarat/อ.ชญานิตย์ พูลยรัตน์
“While we were doing that we thought, there's so much more of a story here.”
Michael Gadd, The New Zealand Herald
“The film is an eye-opener for all sides and should be shown all over the world.”
---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 4 ธันวาคม /4 December
A Hero’s Journey
2007/81 min/Timor Leste/Singapore
Director: Grace PhanCommentator: Dr. Charnvit Kasetsiri/อ.ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
“A Hero’s Journey documents the reasons Gusmao feels that forgiveness and reconciliation are so vital to his country’s survival in the coming years of independence.”
Tim Milfull, M/C Reviews
“The film closes with another poem, one of rebirth and hope. Forgiveness is not easy.”
Lesley Devlin, The Pundit
------------------------------------------------
Free admission!
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 02-6132672 02-6132672 ชมรายละเอียดการจัดฉายภาพยนตร์ครั้งนี้และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 10 ปี แห่งการสถาปนาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาได้ที่ http://seas.arts.tu.ac.th/
For more information, please contact Southeast Asian Studies Program, Faculty of Liberal Arts Thammasat University at 02-6132672 02-6132672 or click http://seas.arts.tu.ac.th