วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Southeast Asian Film Show 6th “My Dear ASEAN”




เทศกาลภาพยนตร์อุษาคเนย์ครั้งที่ 6
ตอน "แด่ ASEAN ที่รัก"









โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฉลองวาระครบรอบ 10 ปี แห่งการสถาปนา ด้วยการจัดฉายภาพยนตร์อุษาคเนย์เพื่อการศึกษา พร้อมการเสวนาภาพยนตร์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาวิชา ในทุกวันศุกร์และวันเสาร์ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม ถึง วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องเรวัติ พุทธินันท์ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์





ชมฟรี !


(ไม่เสียค่าบัตรผ่านประตู โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาเข้าชมภาพยนตร์)







---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 30 ตุลาคม/30 October

Burma VJ: Reporting From a Closed Country





Burma VJ
2008/ 84 min / Denmark/Sweden/Burma
Director: Anders Østergaard
Commentator: Soe Aung



A Burmese young man Joshua becomes tactical leader of a group of reporters during Buddhist monks-led the September 2007 uprising in Burma. Under the heavily controlled media environment that foreign reporters are banned from the country, he and his colleagues keep the spirit of democracy and freedom from fear alive with cameras.

หนังสารคดีเกี่ยวกับประเทศพม่าที่บันทึกเรื่องราวของเหล่า Video Journalist หรือ VJ ที่มีเครื่องมือประจำตัวคือกล้องวิดีโอพกพาขนาดเล็ก พวกเขาแอบส่งภาพความเป็นไปของประเทศออกสู่โลกภายนอกแม้จะเสี่ยงต่อชีวิตและอาจต้องติดคุกก็ตาม Joshua ชายหนุ่มวัย 27 ปี เป็นผู้นำด้านกลยุทธ์ของนักข่าวกลุ่มนี้ โดยในช่วงที่พระสงฆ์ชาวพม่าลุกฮือขึ้นประท้วงรัฐบาลทหาร บรรดาสำนักข่าวต่างชาติต่างถูกสกัดกั้นการรายข่าวการะท้วงดังกล่าว Joshua และทีมงานจึงกลายเป็นคนกลุ่มเดียวที่สามารถส่งภาพการปฏิวัติด้วยชายจีวรของคณะสงฆ์ออกสู่จอโทรทัศน์ทั่วโลกได้ เมื่อรัฐบาลทหารตระหนักถึงพลังของกลุ่มคนผู้ถือกล้องวิดีโอตัวเล็กๆ เหล่านี้ บรรดา VJ จึงตกเป็นเป้าหมายที่ต้องถูกกำจัด





“As gripping as any Hollywood thriller - and as heartbreaking as any weepie.”



The Daily Mirror




“Crucial testament to the will of a suffering people to ensure the world does not forget them.”



The Daily Telegraph



“A guerrilla portrait of a country in crisis and a testament to the power of citizen journalism.”
The Times






---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 31 ตุลาคม/31 October



Un Soir Après La Guerre





( One Evening After The War )
Director: Rithy Pahn
Commentator: Songyote
Waehongsa/อ. ทรงยศ แววหงษ์




Living in the war is hard but surviving after the war is harder, the film reflects life of Savannah a man who lost most of his family to the horrors of the Khmer Rouge regime is a former solider in the Cambodian Civil War but has to struggle in returning to normal life. He falls in love with a 19-year-old bar girl, Srey Poeuv who is humiliated by her debts to the bar's owner, and is forced to keep working. Savannah wants to help Srey clear her debt, so he teams up with an ex-soldier and plans a crime that could net him some money.

อีกหนึ่งภาพยนตร์เรื่องเยี่ยมจากผู้กำกับ Rithy Pahn ผู้ซึ่งมีชีวิตช่วงหนึ่งร่วมในเหตุการณ์ทุ่งสังหารกลางทศวรรษที่ 70 ของกัมพูชา เรื่องราวของ Savannah ชายหนุ่มผู้สูญเสียสมาชิกส่วนใหญ่ในครอบครัวไปในช่วงเขมรแดงครองเมือง ชายหนุ่มผู้ซึ่งคุ้นเคยกับการการรบจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ในชีวิต คือการกลับมาใช้ชีวิตในสังคมทีไร้สงครามแห่งการฆ่าฟันแต่เต็มไปด้วยสงครามแห่งการต่อสู้เพื่อหลุดพ้นจากความข้นแค้นทางเศรษฐกิจ เมื่อความรักและความเสียสละต้องแลกมาด้วยวิธีการนอกกฏหมายและความรุนแรง การหลุดพ้นจากสงครามในใจจึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า







---------------------------------------------------------------------------------
ศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน/6 November



My Magic



My Magic
2008/75 min/Singapore
Director: Eric Khoo
Commentator: Assistant Professor Kamjohn
Louiyapong/ผศ. กำจร หลุยยะพงศ์



The film tells a story of Francis, an Indian alcoholic father who decides to change his lifestyle for the sake of his 10-year-old adolescent son. The son is a stoic old soul who has learned to bury his affection for his old man and to cope with his chaotic life. A broken spirit and a single parent, Francis hopes to win his son love and respect. An unexpected incident one night sets father and son on the road. In a dilapidated building, these two wounded souls come to terms with their love - a love which is as deep and acute as their grief.



Francis Bosco อดีตนักมายากลและพ่อหม้ายของลูกชาย Jathishweran ใช้ชีวิตปัจจุบันเป็นคนทำความสะอาดไนท์คลับ ทั้งยังมักปลอบใจตัวเองด้วยการดื่มเหล้าและมีชีวิตที่วุ่นวายทำให้เขากลายเป็นพ่อที่ไม่ได้รับความประสบความสำเร็จ ทั้งยังทำให้ลูกชายวัย 10 ปีรู้สึกขาดความรักและมีแต่ความเจ็บปวด Francis เองยังมีความหวังที่จะทำตัวใหม่และเอาชนะความรักและความเคารพของลูกชายอีกครั้ง เขาจึงสร้างมนต์ที่อันแสนแปลกประหลาดขึ้นมา เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในคืนหนึ่งได้ทำให้จิตวิญญาณที่มีบาดแผลของพวกเขาทั้งสองกลับมารวมความรักอย่างลึกซึ้ง





“Well conceived, executed and moving. My Magic is terrific.”
Oliver Stone



“My Magic may be grim and gritty but with unconditional love as it’s main theme, it will warm your heart.”
Channel News Asia

“Intensely emotional and unforgettable.”
Business Times




---------------------------------------------------------------------------------

เสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน/6 November


Bagong Buwan





Bagong Buwan
2001/110 min/Philippines
Director: Marilou Diaz-Abaya
Commentator: Sirote Klampaiboon/
อ. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์



In 2000, President Joseph Estrada declared an all-out-war against the Mindanao's secessionist group Moro Islamic Liberation Front (MILF) with an aim at finishing the war in few weeks but it was unfinished. Its effects indiscriminately harm several innocent lives in the area either Muslims or Christians. The film makes audience realize about the meaning of living in the difference and tolerance.

ภาพยนตร์สัญชาติฟิลิปปินส์ที่มีชื่อแปลเป็นไทยว่า "จันทร์ดวงใหม่" ตัวละครเอกเป็นแพทย์มุสลิมที่มีอาชีพการงานดีในมะนิลาและมีพี่ชายเป็นสมาชิกของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน Moro Islamic Liberation Front (MILF) จำต้องเดินทางกลับมาบ้าน เพราะลูกชายของเขาถูกกะสุนปืนของกลุ่มทหารบ้านปลิดชีพ ความขัดแย้งภายในของตัวละครเอกหลังจากที่เขากลับมาและต้องร่วมเผชิญชะตากรรมกับผู้ลี้ภัยสงครามที่สังกัดศาสนาเดียวกัน ทำให้คำถามเรื่องความเป็นตัวตนของตัวเองนั้นกลายเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจของเขาตลอดเวลา



“It will help Christians to get a better understanding of Muslims and the Mindanao problem.”
Armand N. Nocum, Philippine Daily Inquirer

“It was a delight and a pleasure to watch Bagong Buwan.''
Manila Bulletin

“Never before has a movie of this genre gone to such length to depict a more authentic and fair rendition of the conflict in Mindanao.”



Maulana R. M. Alonto, Morostudies






---------------------------------------------------------------------------------

ศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน/13 November


Nerakhoon (Betrayal)




Nerakhoon (Betrayal)
2008/87min/United States/Laos
Director: Ellen Kuras/Thavisouk Phrasavath
Commentator: Dr. Charnvit Kasetsiri/อ.ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ



It took 23 years for the film to be done. This documentary film tells story of a Laotian family caught in the tides of war. They struggle to overcome the hardships of political refugee life, not only to adapt with new circumstance but also to deal with unforgettable past and forgiveness.

ภาพยนตร์แนวสารคดีที่ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของชาวลาวครอบครัวหนึ่งที่ต้องอพยพลี้ภัยเมื่อครั้งยุคสงครามเย็น เนื้อเรื่องกล่าวถึง ทวีสุข ที่มีพ่อเป็นทหารผู้ซึ่งร่วมกับฝ่ายต่อต้านพรรคคอมิวนิสต์ลาว หลังสงคราม พ่อของทวีสุขกลายเป็นศัตรูของรัฐและถูกจับเข้าไปอยู่ใน Re-educational camp ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ยึดประเทศลาวได้อย่างเบ็ดเสร็จ แม้ว่า ทวีสุขและสมาชิกที่เหลือในครอบครัวจะรอดชีวีตจากสงครามและได้ไปเริ่มต้นชีวิตในสหรัฐอเมริกา แต่ผลพวงของสงครามก็ทำให้การมีชีวิตอยู่ในสังคมใหม่และการต่อสู้กับความเจ็บปวดในใจนั้น เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า





“Thavi's story is about love, family, culture, betrayal, struggle, and, ultimately, survival and triumph, making Nerakhoon (The Betrayal) a powerful tale with a heart and soul you won't soon forget.”
Kim Vonyar, Cinematical

“The Betrayal" is a potent mix of archival footage, talking heads and visually arresting montages.”
V. A. Musetto, New York Post






---------------------------------------------------------------------------------
เสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน / 14 November


Wonderful Town





Wonderful Town
2007/92min/Thailand
Director: Aditya Assarat
Commentator: Prof. Benedict Anderson



The film is inspired by the town of Takua Pa in Pang-nga province where where the 2004 tsunami hit the hardest and 8,000 people were lost. The story is about a love that grows where there is no more love and about a town that tries to destroy the beauty that it cannot have for itself.

วันหนึ่ง (ต้น) สถาปนิกหนุ่มเดินทางมายังเมืองเล็กๆทางภาคใต้ของไทยที่ซึ่งความเงียบเหงาและความเศร้าสร้อยปกคลุมอยู่นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิ ต้นมาเช่าห้องในโรงแรมที่หญิงสาวชื่อ(นา) ดูแลอยู่ ครอบครัวของนาเป็นคนเก่าคนแก่ของเมือง ทั้งคู่เริ่มความสัมพันธ์กันอย่างลับๆแต่ก็ไม่เร้นรอดจากสายตาของคนในเมืองไปได้ (วิทย์)พี่ชายของนาเป็นหัวหน้าแก๊งประจำเมือง เขารักน้องสาวและไม่ชอบคนแปลกหน้า เขาเหมือนเด็กที่ชอบฆ่าสัตว์เลี้ยงของตัวเองโดยไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงรู้สึกอย่างนั้น รู้เพียงแต่ว่าเขาทนไม่ได้ที่จะเห็นคนอื่นมีความสุขความรักได้เติบโตขึ้นในที่ที่ไม่มีความรักเหลืออยู่เหมือนดอกไม้ที่โตในตมและทั่วทั้งเมืองก็พยายามทำลายความงามที่เมืองนี้ไม่มี แล้วเมืองนี้จะมีความสุขอีกครั้งได้ไหม?





“What gives the film its distinctive quality is less the relationship between the local girl and the outsider than the way it captures the mood of this wounded place.”
Philip French, The Guardian

“I have these days developed a certain suspicion of dreamy arthouse movies that pay for their dreaminess with a flourish of violence at the end, but there is no doubt that this is highly persuasive and intelligent film-making, the kind of movie that enfolds you in its world.”
Peter Bradshaw, The Guardian


“The film barely goes beyond his, and reveals no deeper expression in these people or their town.”
Daniel Kasman, D-kaz







---------------------------------------------------------------------------------


ศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน/20 November


Laskar Pelangi




Laskar Pelangi (Rainbow Warriors)
2008/125min/Indonesia
Director: Riri Riza
Commentator: Onanong Thippimol /อ.อรอนงค์ ทิพย์พิมล


The film is adapted from a best-selling Indonesian novel “Laskar Pelangi [Rainbow Warriors].” It tells a story about an inspiring teacher Ibu Muslimah and her 10 students in “the poverty-stricken” Kampung Gantong located in “one of the country's richest Islands” Belitong. It reflects the spirit of being teacher that not only dedicating to education but also religion and faith. You will be filled with the beauty of friendships and dreams by “Rainbow Warriors.”

ภาพยนตร์ที่สร้างจากหนังสือที่ขายดีที่สุดตลอดกาลของอินโดนีเซีย ซึ่งมีชื่อเดียวกันกับภาพยนตร์ “Laskar Pelangi” หรือ “นักรบสายรุ้ง” บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของคุณครูและเด็กนักเรียนในเขตชนบทห่างไกล บนเกาะ Belitung เกาะที่ร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติแห่งหนึ่งของประเทศ เมื่อความร่ำรวยทางทรัพยากรไม่สามารถแปลงให้เป็นความมั่งคั่งอันจะแบ่งปันให้แก่การศึกษาของอนาคตของชาติได้ ความศรัทธาในความรู้ ในศาสนา มิตรภาพและกำลังใจ ที่ครูกับ “นักรบสายรุ้ง” จึงเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้ แสงแห่งรุ้งบนท้องฟ้าปรากฏเป็นจริง




“One of the most affecting and poignant endings ever committed to Indonesian celluloid... makes audiences' hearts soar on their way out of the theater.”
The Jakarta Post


“Its infectious charm is a treat for young and old at international kid feasts and festival family sidebars”



Maggie Lee, Hollywoodreporter.com








---------------------------------------------------------------------------------


เสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน/21 November

*** ระงับการฉาย ภาพยนตร์เรื่อง Journey From The Fall โดยเปลี่ยนเป็น เรื่อง Gardien de Buffles (Buffalo Boy)


















---------------------------------------------------------------------------------


ศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน / 27 November


The Last Communist






Lelaki Komunis Terakhir 2006/90 min/ Malaysia Director: Amir Muhammad Commentator: Supalak Ganjanakhundee / คุณสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี



The movie is inspired by the leader of the disbanded Malayan Communist Party, Chin Peng and the Malayan Emergency (1948-1960) during which more than 10,000 Malayan and British troops and civilians lost their lives. The movie has been shown in several film festivals around the world but it becomes controversial in its home country.

ภาพยนตร์แนวสารคดีที่สะท้อนถึงชีวิตและบทบาททางประวัติศาสตร์ของ “Chin Peng” อดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์มลายา เรื่องราวของ “Chin Peng” ถูกใช้เป็นตัวเชื่อมโยงบริบทที่แตกต่างกันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ผ่านความทรงจำของผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เขาเคยเดินทางไปพักอาศัยและต่อสู้ทางการเมือง ตลอดจนการเลือนหายอย่างไร้ตัวตนของพรรคคอมมิวนิสต์ดังกล่าวที่ถูกบอกเล่าผ่านเรื่องราวชีวิตประจำวันของผู้คนอีกจำนวนหนึ่งในปัจจุบันที่ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์หรือ “Chin Peng” เลย แม้สถานที่ที่พวกเขาอยู่อาศัยจะมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตในอดีตของ “Chin Peng” เช่นกันก็ตาม





“The Last Communist is not a film about communism nor is it a celebration of the life of Chin Peng.”
Benjamin McKay, Criticine


“I think this is the first time a film has been banned for not being violent enough.”
Amir Muhammad



“ภาพยนตร์เรื่องนี้ ผู้สร้างกำลังเขียนบอกเล่าประวัติศาสตร์ฉบับประชาชน ซึ่งต่างจากประวัติศาสตร์ที่รัฐเขียนขึ้นมาตลอด”
หนังสือพิมพ์ มติชน








---------------------------------------------------------------------------------


เสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน/ 28 November


Long Road to Heaven



Long Road to Heaven
2007/120 min/Indonesia
Director: Enison Sinaro
Commentator: Chayanit Poonyarat/อ.ชญานิตย์ พูลยรัตน์

Based on true story, the movie sets at the 2002 Bali Bombing, a tragedy on one of the most beautiful island in the world. The movie looks at the tragedy from different points of view, including those of a Balinese taxi driver who lost a relative in the blast, Muslim militants who were blamed for the bombs.

ภาพยนตร์อินโดนีเซีย ที่สร้างจากเหตุการณ์จริง กรณีระเบิดที่เกาะบาหลี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2002 เป็นเวลา 1ปี 1เดือน 1วัน หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ที่ตึกเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ สหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 202 ราย เป็นชาวออสเตรเลีย 88 คน ชาวอินโดนีเซีย 38 คน ชาวอังกฤษ 24 คน ชาวอเมริกัน 7 คน และนักท่องเที่ยวชาติอื่นๆอีก 47ราย ตัวภาพยนตร์เองพยายามเข้าไปสำรวจ ความคิดและ จิตใจ ของกลุ่มผู้ก่อการซึ่งเป็นตัวละครที่มีผลต่อปฏิกริยาของผู้ชมมากที่สุด ผ่านกระบวนการตั้งแต่เริ่มวางแผน จนถึง ช่วงเวลาพิจารณาคดีในปี 2003


“While we were doing that we thought, there's so much more of a story here.”
Michael Gadd, The New Zealand Herald

“The film is an eye-opener for all sides and should be shown all over the world.”


Indonesiamatters





---------------------------------------------------------------------------------

ศุกร์ที่ 4 ธันวาคม /4 December


A Hero’s Journey



A Hero’s Journey
2007/81 min/Timor Leste/Singapore
Director: Grace PhanCommentator: Dr. Charnvit Kasetsiri/อ.ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

The movie explores life of Timor Leste's national hero Xaxana Gusmao through his journey of struggle for independence. Becoming an independence country is hard but to keep country's spirit of freedom alive is harder. Gusmao reveals his philosophy of being a fighter that not only fighting in the battlefield but also fighting to keep forgiveness and reconciliation in mind.

พวกเขาชนะสงครามด้วยความกล้าหาญและความเสียสละ ตอนนี้พวกเขาต้องต่อสู้เพื่ออนาคตผ่านการให้อภัยและการสร้างความปรองดองขึ้นอีกครั้ง เรื่องราวของประธานาธิปดีของประเทศอติมอร์เลสเต้ ซานานา กุสเมา ผ่านการเดินทางที่ห้าวหาญ จาก 24 ปีที่ประเทศถูกยึดครองโดยมาถึงถึงปัจจุบันกับความท้าทายของชาติที่เพิ่งเริ่มก่อร่างสร้างตัว เมื่ออุปสรรคของการถูกเข้าครอบครองจากต่างชาติสิ้นสุดลงแต่การต่อสู้เพื่อสร้างชาติจากศูนย์และต้องต่อสู้กับความยากจน, ความไร้สมรรถภาพ, การฉ้อโกง และความเกลียดชังเพิ่งจะเริ่มต้น ประธานาธิบดีกุสเมาจะเป็นผู้นำทางในการเดินทางที่ยากลำบากโดยเขาจะเปิดเผยตัวตนของติมอร์ผ่านสายตาและหัวใจของเขาเอง ซึ่งในเรื่องนี้เราจะได้ยินเขาพูดภาษา 4 ภาษาได้แก่ อังกฤษ โปตุกีส อินโดนีเซียน และ เตตุม ภาษาถิ่นของชาวติมอร์เลสเต้


“A Hero’s Journey documents the reasons Gusmao feels that forgiveness and reconciliation are so vital to his country’s survival in the coming years of independence.”


Tim Milfull, M/C Reviews

“The film closes with another poem, one of rebirth and hope. Forgiveness is not easy.”


Lesley Devlin, The Pundit






------------------------------------------------


Free admission!


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 02-6132672 02-6132672 ชมรายละเอียดการจัดฉายภาพยนตร์ครั้งนี้และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ 10 ปี แห่งการสถาปนาโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาได้ที่ http://seas.arts.tu.ac.th/


For more information, please contact Southeast Asian Studies Program, Faculty of Liberal Arts Thammasat University at 02-6132672 02-6132672 or click http://seas.arts.tu.ac.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น